สถาบันปั้นคน โดย อ.ปั้น เป็นสถาบันที่เปิดคอร์สต่างๆที่เกี่ยวกับการสอน การฟื้นฟู-บำบัด-พัฒนาของ อ.ปั้น เราเปิดมานานกว่า 10 ปี

ซึ่งมีคอร์สต่างๆ ที่เราเปิดสอนมีดังนี้Tel : 089-1690911 , 083-0949242 เบอร์สำรอง 086-3329288

LineID : @puncenter  (อย่าลืมใส่ @ ด้วยค่ะ)   

หรือ ส่งมาที่ ·LINE ID :  ritsri   

กลัวการเข้าสังคม

คอร์ส กล้าเข้าสังคม - มั่นใจในตนเอง

สำหรับ เด็ก/ผู้ใหญ่  ที่กลัวการเข้าสังคมมาก, ไม่กล้า ไม่มั่นใจ,กลัวการถูกปฏิเสธ, ขี้อาย

ถ้าเรียนไม่ได้ผล เราพร้อมคืนเงิน

สามารถเลือก เรียนออนไลน์ หรือ เรียนที่สถาบัน

 ติดต่อ·LINE : @puncenter  ,   โทร· 0891690911

 

 

กลุ่มอาการ ที่เรารับดูแลสอน เช่น

  • กลัวการเข้าสังคมมาก ไม่กล้า ไม่มั่นใจ
  • หลีกเลี่ยงการไปในที่ที่มีคนมากๆ   วิตกกังวลที่ต้องพูดคุยหรือทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น ไม่กล้าทำอะไรด้วยตัวเอง
  • ผู้ป่วยมักจะมีมนุษย์สัมพันธ์ต่ำ ไม่มีเพื่อนเพราะไม่ชอบการพูดคุย ไม่ชอบการออกไปข้างนอก เป็นคนที่สานสัมพันธ์ต่างๆ ไม่เก่ง
  • ไม่กล้าแสดงออก (ในที่ประชุมหรือหน้าชั้นเรียน) เวลาอยู่ต่อหน้าคนอื่นพูดไม่ออก
  • ผู้ป่วยจะไม่สบตากับใครในขณะที่พูดคุยกัน มักจะหลบดา พูดน้อยหรือตัดบทให้จบไวๆ
  • ไม่มีความสุขในการเรียนและการทำงาน  การใช้ชีวิต

 

สิ่งที่สอน / เป้าหมาย

  • ทำให้อาการกลัวการเข้าสังคมหายไป   กล้ามั่นใจมากขึ้น
  • ปรับเปลี่ยนอารมณ์ ความรู้สึก ความคิด และพฤติกรรม ในการเข้าสังคม ให้ดีขึ้น 
  • ทำให้กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม และ สามารถทำอะไรได้ด้วยด้วยตัวเอง
  • ทำให้ชอบการเข้าสังคม พบปะ พูดคุย  มีความสุขในการเรียน การทำงาน การใช้ชีวิตมากขึ้น

 

 

 " การกลัวการเข้าสังคม จะทำให้คุณ “ไม่มีความสุข” ที่จะทำอะไรเลย "

 

 

ค่าเรียน 3500 บาท/เดือน

สำหรับท่านที่สนใจเรียน ระยะเวลาเรียนประมาณ 3 - 6 เดือน แต่จะเริ่มจากเรียน 2 เดือนก่อน (ค่าเรียน 3000 บาท/เดือน) แล้วจะประเมินว่าต้องใช้เวลาเรียนเท่าไหร่จึงสัมฤทธิ์ผลสมบูรณ์ ระยะเวลาการเรียน ในรายที่เป็นไม่มาก เรียนประมาณ 3 เดือน ในรายที่เป็นปานกลาง 3-4 เดือน ในรายที่เป็นมาก 5-6 เดือน

โทรสอบถาม เรื่องเรียน - คอร์สต่างๆ · 089-1690911 ·หรือ · 083-094-9242

หรือ ส่งมาที่ ·LINE ID :   @puncenter    (อย่าลืมใส่ @ ด้วยค่ะ)

 

 

 

///////////////////////////////////////////////

 

 

 

 

 สัญญาณ และอาการของโรคกลัวเข้าสังคม

          อาการของโรคจะแบ่งออกได้ 3 ประเภท ดังนี้

 

อาการแสดงทางอารมณ์และความคิด

 1. รู้สึกประหม่าทุกครั้งที่ต้องพูดกับบุคคลอื่นหรืออยู่ต่อหน้าคนอื่นก็พูดไม่ออก

 2. วิตกกังวลอย่างมาก ว่าคนอื่นจะวิพากษ์วิจารณ์และคิดอย่างไร กับตัวเอง

 3. เครียดล่วงหน้าเป็นวันหรือสัปดาห์ เมื่อรู้ว่าต้องปรากฏตัวต่อหน้าสาธารณชน

 4. กลัวว่าตัวเองจะแสดงอาการหน้าขายหน้าออกไป

 5. กลัวคนอื่นจะจับสังเกตได้ว่ากำลังรู้สึกประหม่าอยู่

 



 อาการทางกายและพฤติกรรม      
                                 
       อาย   หน้าแดง  เขินจนบิด   ไม่กล้าสบตา  เสียงสั่น   พูดตะกุกตะกัก   หายใจหอบถี่กระชั้น   ใจเต้นแรง แน่นหน้าอก เหงื่อแตก  หน้ามืด   วิงเวียนศีรษะ  ปั่นป่วนในท้อง  บางรายถึงกับอาเจียน

 



 พฤติกรรมที่บ่งชี้อาการ

   1. ชอบปลีกตัวหลบอยู่คนเดียวบ่อย ๆ เพราะกลัวการเผชิญหน้ากับบุคคลอื่น

  2. มนุษยสัมพันธ์ค่อนข้างต่ำ และรักษาความเป็นเพื่อนไว้ได้ยาก

  3. ไม่กล้าทำอะไรด้วยตัวเอง ต้องมีเพื่อนอยู่ข้าง ๆ ตลอดเวลา

  4. ไม่กล้าแสดงออกขั้นรุนแรง

  5. ผู้ใหญ่บางรายอาจดื่มแอลกอฮอล์ย้อมใจทุกครั้งก่อนเผชิญหน้ากับคนหมู่มาก 

 

ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการหวาดกลัวสังคม

          หากอยู่ในสถานการณ์ปกติ อาการโรคหวาดกลัวสังคมคงไม่แสดงออกมาให้เห็นได้ชัดเจนนัก

          แต่หากได้รับการกระตุ้นจากปัจจัยภายนอกบางอย่างทำให้เกิดอาการดังกล่าวขึ้นมาได้ เช่น

          1. เมื่อต้องพบเพื่อน หรือต้องทำความรู้จักกับคนใหม่ ๆ

         2. กำลังตกเป็นเป้าสายตาถูกล้อ แซว หรือกล่าวถึง

         3. ถูกจับจ้องเวลาที่ทำอะไร รู้สึกว่าโดนแอบมอง เวลาไปออกเดท

         4. จำเป็นต้องพูดคุยกับใครเป็นบทสนทนาสั้น ๆ หรือเมื่อต้องเข้าสอบ หรือถูกทดสอบ

         5. เมื่อต้องพูดในที่สาธารณะ แสดงบนเวที หรือหน้าชั้นเรียน ในที่ประชุม

         6. เมื่อต้องพูดคุยกับคนสำคัญ หรือบุคคลที่มีอิทธิพลเหนือกว่าตัวเอง

         7. เมื่อเป็นฝ่ายโทรศัพท์ หรือติดต่อผู้อื่นก่อน

         8. เวลารับประทานอาหารในที่สาธารณะ เวลาไปงานปาร์ตี้

 

โรคกลัวการเข้าสังคม มีผลกระทบกับชีวิตอย่างไร ?



       ผลกระทบกับชีวิตการงาน และการเรียน

         1.ไม่กล้าไปสัมภาษณ์งาน ไม่กล้าแสดงออกในที่ประชุม หรือหน้าชั้นเรียน

        2. มีปัญหากับการติดต่อประสานงานกับหัวหน้า หรือเพื่อนร่วมงาน

        3. ลังเลที่จะตัดสินใจรับตำแหน่ง หรือหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

        4.ไม่มีความสุขและประสิทธิภาพในการทำงาน และการเรียนถดถอย 



      ผลกระทบกับความสัมพันธ์

        1. มีปัญหาในการสานสัมพันธ์ รูปแบบเพื่อนหรือคนรัก คบไม่ได้นาน

        2.ไม่กล้าเปิดใจรับใครเข้ามา

        3.ไม่กล้าแชร์ความคิดเห็นร่วมกับบุคคลอื่น



     ผลกระทบกับชีวิตประจำวัน

         เสียโอกาสได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ทำให้ไม่ได้พัฒนาตนเองอย่างที่ควรพลาดโอกาสดี ๆ ในชีวิต ขังตัวเองอยู่ในโลกส่วนตัว กลายเป็นคนโลกแคบได้

 

 

CR  :  Kapook  ,  Sanook

 

 

 

//////////////////////////////////////

 

 

 

26 เหตุการณ์บ่งชี้ว่าฉันเป็นโรคกลัวการเข้าสังคม

 

ฉันโตขึ้นมาพร้อมกับนิสัยขี้อายและชอบเก็บตัวเงียบๆ ฉันไม่คิดอะไรจนกระทั่งอายุ 19 ปีและพบว่าตัวเองเป็นโรคกลัวการเข้าสังคม ตอนแรกฉันไม่เชื่อและคิดว่าตัวเองสามารถออกนอกบ้าน คุยกับคนอื่น และใช้ชีวิตไปเรื่อยๆก็ไม่น่าจะเป็นโรคกลัวการเข้าสังคมนะ พอรู้ว่าตัวเองเป็นโรคกลัวการเข้าสังคมฉันก็มองหาคำอธิบายเกี่ยวกับโรคนี้และอ่านเจอว่าหากคุณสามารถคุยกับคนอื่น ทำงานหรือไปเรียนหรือมีเพื่อนได้ คุณก็ไม่ได้เป็นโรคกลัวการเข้าสังคมจริงๆหรอก แต่จู่ๆฉันก็รู้สึกอ่อนแอราวกับว่าฉันกำลังฝันไป และนี่คือเหตุการณ์ที่บ่งชี้ว่าฉันกำลังเผชิญหน้ากับโรคกลัวการเข้าสังคม

 

  1. เมื่อตอนที่ฉันอายุ 4 ขวบและเริ่มไปโรงเรียน ฉันรู้สึกว่าการมีเพื่อนเป็นเรื่องยาก ฉันไม่กล้าเข้าไปหาใครในสนามเด็กเล่นเลย

  2. ตลอดช่วงเวลาในวัยเรียน ฉันกลัวการถามคำถามหรือคุยกับคุณครู ฉันได้แต่นั่งงงอยู่อย่างนั้น

  3. ฉันกลัวผู้มีอำนาจทุกคน กลัวที่เข้าไปพัวพันกับเรื่องเดือดร้อน ฉันไม่เคยพูดตอนที่ครูกำลังพูดอยู่เลย แม้แต่ก้าวออกไปนอกเขตสนามยังไม่กล้าเลย

  4. ตอนฉันอายุ 5 ขวบฉันไม่คุยกับครูแม้แต่คำเดียวเป็นเวลาหกเดือน ทุกครั้งที่ครูขานชื่อ ฉันก็ไม่เคยตอบ ฉันจะส่ายหน้าหรือพยักหน้าเท่านั้น ไม่ใช่ว่าไม่อยากคุยนะแต่ฉันรู้สึกว่าตัวเองทำไม่ได้

  5. ตอนฉันอายุ 12 ปี ฉันต้องออกไปนำเสนอผลงานแบบปากเปล่าเป็นครั้งแรก ฉันสั่นจนควบคุมตัวเองไม่ได้ซึ่งก็เป็นคำติชมแรกที่ได้จากเพื่อนๆด้วย

  6. อาการสั่นจนควบคุมตัวเองไม่ได้ยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมาอีก 2-3 ปีและทุกครั้งที่นึกถึงการนำเสนอผลงาน ฉันก็จะรู้สึกท้องไส้ปั่นป่วน

  7. การพบปะระหว่างคุณครูกับผู้ปกครองมักจะมาพร้อมกับความเห็นที่ว่าฉันไม่ค่อยให้ความร่วมมือในชั้นเรียน

  8. ฉันมีเพื่อนน้อยมาก บางทีก็ไม่มีเพื่อนเลยเพราะฉันกลัวการปฏิเสธ หลายคนบอกว่าฉันเงียบเกินไปหรือไม่ก็น่าเบื่อมาก

  9. การพูดคุยทางโทรศัพท์หมายถึงฉันต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงในการวางแผนว่าจะคุยอะไรบ้าง ฉันจึงเลือกที่จะไม่โทรเลย

  10. ฉันมักจะซ้อมพูดซ้ำแล้วซ้ำอีกก่อนที่จะสั่งอาหารในร้าน

  11. จากนั้นฉันก็จะตกใจมากหากเขาขอรายละเอียดเพิ่มเติม

  12. ฉันชอบกังวลว่ามีคนแปลกหน้ากำลังจ้องและตัดสินฉันอยู่

  13. เมื่อเพื่อนๆทำกิจกรรมโดยที่ไม่มีฉัน ฉันก็จะคิดว่าพวกเขาเกลียดฉันและกำลังปิดบังอะไรบางอย่างอยู่

  14. และทุกครั้งที่ฉันเห็นเพื่อนๆคุยกันโดยที่ไม่มีฉัน ฉันก็จะรู้สึกแบบเดียวกัน

  15. ทุกครั้งที่มีใครแจ้งยกเลิกงานหรืออะไรก็ตาม ฉันก็จะทึกทักว่าพวกเขาไม่อยากอยู่ใกล้ๆฉัน

  16. ถ้าฉันบังเอิญได้ยินใครพูดชื่อฉัน ฉันก็จะคิดว่าพวกเขากำลังพูดถึงความเลวร้ายของฉัน

  17. ฉันต้องระวังคำพูดและความคิดเห็นของตัวเองเนื่องจากกลัวว่าจะถูกคนอื่นตัดสิน ทางที่ดีฉันจะอยู่เงียบๆและเออออห่อหมกไป

  18. การวางแผนบทสนทนาล่วงหน้าเป็นงานที่น่ากลัวมาก

  19. และทุกอย่างก็ไม่เคยเป็นไปตามแผนเลย

  20. เมื่อต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงในการวิเคราะห์บทสนทนา ฉันมักจะคิดถึงทุกอย่างที่ฉันควรทำแตกต่างไปจากนี้

  21. จากนั้นฉันก็จะนอนจมกองน้ำตาอยู่บนเตียงและเกลียดตัวเองที่ไม่ยอมพูดออกไป

  22. ฉันจะรู้สึกเครียดเมื่อต้องอยู่ท่ามกลางผู้คนที่ไม่รู้จักและไม่กล้าพูดอะไรออกมาเลย

  23. จากนั้นฉันก็จะมั่นใจว่าพวกเขาต้องเกลียดฉันเพราะว่าฉันเงียบเกินไป

  24. การที่อีกฝ่ายส่งข้อความตอบกลับช้ามากทำให้ฉันคิดว่าเขาไม่อยากคุยกับฉันแล้วหรือไม่ก็มีสิ่งเลวร้ายเกิดขึ้น

  25. การเริ่มเข้าสู่กระบวนการบำบัดและการพูดคุยกับคนแปลกหน้าทำให้ฉันร้องไห้ไม่หยุดติดต่อกันหลายวัน

  26. ฉันกลัวว่าทุกคนจะเกลียดฉันและไม่อยากคุยกับฉัน

หากมีเหตุการณ์บ่งชี้ข้อไหนที่คล้ายกับประสบการณ์ของคุณ จงรู้ไว้ว่ามันไม่ใช่เรื่องแปลกและคุณก็ไม่จำเป็นต้องทนอยู่ในสภาพนั้น คุณสามารถขอรับความช่วยเหลือและในไม่ช้าอาการของคุณก็จะดีขึ้น

 

 

Blogger : Vania C.

Source : themighty.com

  • Hits: 28455