เด็ก-ผู้ใหญ่ ถูกบูลลี่ Bully
คอร์สบำบัด เด็ก-ผู้ใหญ่ ถูกกลั่นแกล้งบูลลี่ Bully
มุ่งบำบัดจิตใจ และ ลดการบูลลี่-ลดการถูกกลั่นแกล้ง
(ไม่มีการใช้ยาใดๆ ทั้งสิ้น / ถ้าเรียนไม่ได้ผล-ไม่ดีขึ้น เราพร้อมคืนเงิน)
จากงานวิจัยของกรมสุขภาพจิต พบว่า การใช้ความรุนแรง การข่มเหงรังแกกันหรือการบูลลี่ ในประเทศไทยติดอันดับ 2 ของโลก รองจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งหมายความว่า การบูลลี่ในไทยมีระดับความถี่ที่รุนแรง ทั้งยังพบว่าอายุเด็กที่ถูกบูลลี่ จะน้อยลงไปเรื่อยๆ
งานวิจัยยังพบอีกว่า เด็กที่รังแกคนอื่น มีพื้นฐานด้านการขาดอำนาจบางอย่างในวัยเด็ก ถูกการเลี้ยงดูเชิงลบ รวมถึงพันธุกรรมทางสมอง จนนำไปสู่การรังแกกลั่นแกล้งคนอื่นในวัยที่โตขึ้น พฤติกรรมนี้จะเพิ่มขึ้นจนกลายเป็นความเคยชิน ทำได้แนบเนียนและรุนแรงขึ้น
ส่วนเด็กที่ถูกบูลลี่ จะมีอาการซึมเศร้า ไม่อยากไปโรงเรียน บางรายอาจถึงขั้นคิดสั้น ทั้งนี้ผู้ปกครองอย่าปล่อยให้เด็กเผชิญปัญหาเพียงลำพัง ต้องคอยสังเกตอาการและสอบถาม เมื่อเด็กส่งสัญญาณที่ผิดปกติ เช่น ดูหงุดหงิด วิตกกังวล มีความกลัว ไม่อยากไปโรงเรียน ไม่อยากคุยกับใคร หรือมีร่องรอยตามร่างกาย ผู้ปกครองควรสร้างบรรยากาศแห่งความไว้ใจ ชวนคุยให้เขาเล่าปัญหาเพื่อช่วยหาทางออก หารือกับครูที่ปรึกษา ข้อสำคัญคือการเป็นแบบอย่างที่ดี ทำให้เด็กนำสิ่งเหล่านี้ไปแก้ปัญหา รวมถึงการเลี้ยงดูเชิงบวก
การบูลลี่ ที่มักเกิดขึ้น
- พูดเหยียดหยาม ล้อรูปร่าง-หน้าตา ล้อปมด้อยส่วนตัว
- ล้อชื่อพ่อแม่ ล้อปมด้อยครอบครัว
- ตบหัว ชกต่อย
ประเภทการบูลลี่ (Bully)
- บูลลี่ทางร่างกาย เป็นการทำร้ายร่างกายอีกฝ่ายให้เกิดการบาดเจ็บ มีบาดแผล ซึ่งสามารถมองเห็นได้จากภายนอก บางกรณีอาจส่งผลต่อจิตใจอีกด้วย
- บูลลี่ทางวาจา แม้ไม่มีบาดแผลทางกายให้เห็น แต่การพูดส่อเสียด ล้อเลียน ใส่ร้าย การประจานด้วยคำพูดให้ผู้อื่นได้ยิน นอกจากจะสร้างความอับอาย วิตกกังวล อาจสร้างความเครียด เก็บกด ส่งผลถึงขั้นเป็นโรคซึมเศร้า หรือหวาดกลัวสังคม ถือเป็นบาดแผลทางใจที่เจ็บปวดไม่น้อย
- บูลลี่ทางสังคม เป็นการสร้างกระแสสังคมรอบข้างให้โหมกระหน่ำมายังเหยื่อของการบูลลี่ เสมือนการยืมมือคนรอบข้างให้ร่วมกันทำร้ายบุคคลเพียงคนเดียว เช่น การปล่อยคลิปของเหยื่อ หรือการสร้างข่าวลือ จนผู้เสพหลงเชื่อและพร้อมจะแชร์และกระพือข่าวให้ไปในวงกว้างขึ้น จนกว่าผู้ถูกกระทำไม่มีที่ยืนทางสังคม
การ Bully แบ่งตามลักษณะความรุนแรงได้เป็นประเภทหลัก ดังต่อไปนี้
- การใช้กำลังบังคับหรือทำร้ายร่างกาย เช่น หยิก ผลัก ตี ต่อย เตะ แย่งหรือข่มขู่เอาสิ่งของจากเหยื่อ ทำลายข้าวของเสียหาย สั่งให้ทำเรื่องที่ไม่อยากทำ สั่งให้ไปกลั่นแกล้งคนอื่นต่อ เป็นต้น
- การใช้คำพูดทำร้ายความรู้สึก เช่น ล้อเลียน ข่มขู่ ดูถูก วิพากษ์วิจารณ์ พูดล้อเลียนอย่างรุนแรง ใช้ถ้อยคำล่วงละเมิดทางเพศ เป็นต้น
- การกลั่นแกล้งทางสังคม เช่น กีดกันออกจากสังคมหรือห้ามคนอื่นเข้าใกล้เหยื่อ โดยอาจใช้การข่มขู่หรือเผยแพร่ข่าวลือในทางลบ เป็นต้น
- การกลั่นแกล้งทางโซเชียล หรือ Cyberbullying เป็น 1 ในการ Bully ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ หลังจากโซเชียลมีเดียหรือสื่อออนไลน์เข้ามามีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก โดยเป็นการกลั่นแกล้งที่ทำได้ง่ายและมักไม่ต้องเปิดเผยตัวตนผู้กระทำ ซึ่งสามารถทำร้ายเหยื่อได้ตลอดเวลาผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ที่นิยม เช่น เฟซบุ๊ก ไลน์ ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม อีเมล เป็นต้น
- การกลั่นแกล้งในที่ทำงาน เกิดขึ้นในวัยทำงาน โดยเป็นการใช้อำนาจหรือความรุนแรงในสถานที่ทำงาน ซึ่งอาจส่งผลให้เหยื่อมีประสิทธิภาพในการทำงานแย่ลง ขาดงานบ่อยขึ้น ไม่อยากทำงาน และอยากลาออกจากงานนั้น ๆ
สถานที่มักเกิดการบูลลี่ คือ bully ในที่โรงเรียน ที่ทำงาน ใน Social ์Network (Website FaceBook Instagram Line) อื่นๆ
เรื่องราวที่ใช้ Bull้y (เรื่องราวที่ต่างกัน แก้ปัญหาการ Bully ต่างกัน)
- การบูลลี่จากสิ่งที่เป็นจริง เช่น รูปร่าง หน้าตา ครอบครัว การศึกษา อื่นๆ
- การบูลลี่จากสิ่งที่ไม่จริง คือการบูลลี่ในสิ่งที่ไม่เป็นจริง
- การบูลลี่จากความจริงบางส่วน คือ มีความจริงบางส่วนผสมอยู่กับสิ่งที่ไม่จริง
ต้นตอการ Bully (ต้นตอที่ต่างกัน แก้ปัญหาการ Bully ต่างกัน)
- มีแกนหลักของการ Bully คือ มีคนจำนวนหนึ่งที่พยายาม bully ตลอดเวลา แล้วสร้างกระแส Bully นี้
- ไม่มีแกนหลัก คือ Bully กันต่อไปเรื่อยๆ ไม่มีแกนหลัก
สิ่งที่เราทำ
- ฟื้นฟูจิตใจ
- สอนทักษะการเผชิญหน้ากับการถูกบูลลี่
- สอนการแก้ปัญหาบูลลี่ในระยะยาว ให้การบูลลี่ลดลง
- ถ้าเป็นการ bully ผ่าน social ์Network เราช่วยดำเนินการแก้ไข ลดผลกระทบ (ปิดกั้นการแชร์คลิป รูปภาพ ข้อความต่างๆ)
ค่าเรียน 3500 บาท/เดือน ส่วนใหญ่ 3 เดือนน่าจะดีขึ้น ระยะเวลาการเรียนทั้งหมดขึ้นกับแต่ละปัญหา
โทรสอบถาม เรื่องเรียน - คอร์สต่างๆ · 089-1690911 ·หรือ · 083-094-9242
หรือ ส่งมาที่ ·LINE ID : @puncenter (อย่าลืมใส่ @ ด้วยค่ะ)
เราไม่อาจรับประกันว่าการบูลลี่จะหายไป แต่เราทำให้การบูลลี่-การลั่นแกล้ง ลดลงได้ และทำให้จิตใจเราเข้มแข็งต่อการบูลลี่
/////////////////////////////////////////////////
ข่าวอ้างอิง
นายอธิวัฒน์ เนียมมีศรี เครือข่ายนักกฎหมายเพื่อเด็กและเยาวชน กล่าวว่า เครือข่ายฯ ได้ลงพื้นที่สำรวจความคิดเห็นเรื่อง “บลูลี่ กลั่นแกล้ง ความรุนแรง ในสถานศึกษา” ในกลุ่มเด็ก อายุ10-15 ปี จาก 15 โรงเรียน พบว่า ร้อยละ 91.79 เคยถูกบูลลี่ ส่วนวิธีที่ใช้บูลลี่ คือ การตบหัว ร้อยละ 62.07 รองลงมา ล้อบุพการี ร้อยละ43.57 พูดจาเหยียดหยาม ร้อยละ41.78 และอื่นๆ เช่น นินทา ด่าทอ ชกต่อย ล้อปมด้อย พูดเชิงให้ร้าย เสียดสี กลั่นแกล้งในสื่อออนไลน์ นอกจากนี้ 1 ใน 3 หรือ ร้อยละ 35.33 ระบุว่า เคยถูกกลั่นแกล้งประมาณเทอมละ 2 ครั้ง ที่น่าห่วงคือ 1 ใน 4 หรือ ร้อยละ 24.86 ถูกกลั่นแกล้งมากถึงสัปดาห์ละ3-4ครั้ง ส่วนคนที่แกล้งคือ เพื่อน รุ่นพี่ รุ่นน้อง
“เด็กๆ ร้อยละ 68.93 มองว่า การบูลลี่ ถือเป็นความรุนแรงอย่างหนึ่ง และผลกระทบที่เห็นได้ชัด คือ ร้อยละ 42.86 คิดจะโต้ตอบเอาคืน ร้อยละ 26.33 มีความเครียด ร้อยละ 18.2 ไม่มีสมาธิกับการเรียน ร้อยละ 15.73 ไม่อยากไปโรงเรียน ร้อยละ 15.6 เก็บตัว และร้อยละ 13.4 ซึมเศร้า นอกจากนี้ เด็กๆยังต้องการให้ทางโรงเรียนมีบทลงโทษที่ชัดเจน มีครูให้คำปรึกษา จัดกิจกรรมสร้างความเข้าใจ”นายอธิวัฒน์ กล่าว
CR : pobpad , motherhood
- Hits: 3262